ความตกลงเชงเกน
ความตกลงเชงเกน (อังกฤษ: Schengen Agreement) เป็นความตกลงระหว่างประเทศส่วนใหญ่ในทวีปยุโรปอันให้สัตยาบันเมื่อ พ.ศ. 2528 สาระสำคัญเป็นการอนุญาตให้สมาชิกในกลุ่มสามารถเดินทางระหว่างกันโดยไม่ต้องถือหนังสือเดินทาง ข้อตกลงนี้มีผลต่อประชากร 4,000,000 คนใน 24 ประเทศ (21 ธันวาคม พ.ศ. 2550) ครอบคลุมเนื้อที่ 4,268,633 ตารางกิโลเมตร (1,648,128 ตารางไมล์) นอกจากนั้นยังให้การอนุญาตชั่วคราวกับผู้ถือใบอนุญาตเชงเกน (Schengen Visa) มีสิทธิในการเดินทางได้ชั่วคราวในประเทศสมาชึกโดยถือใบอนุญาตใบเดียว ตามสนธิสัญญาอัมส์เตอร์ดัม (Treaty of Amsterdam) ข้อตกลงและตัดสินใจทุกข้อของความตกลงเชงเกนกลายเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายของสหภาพยุโรป
ประเทศที่ลงนามในความตกลงฉบับนี้มีด้วยกัน 30 ประเทศรวมทั้งประเทศในสหภาพยุโรปทุกประเทศ และประเทศนอกสหภาพอีก 3 ประเทศคือ ประเทศไอซ์แลนด์ ประเทศนอร์เวย์ และประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ปัจจุบันมี 26 ประเทศที่ใช้ความตกลงนี้ สหราชอาณาจักรยังมิได้ใช่กฏนี้ หลังจากที่มีการปฏิบัติข้อตกลงนี้ด่านหรือป้อมตรวจคนเข้าเมืองของประเทศที่อยู่ในเครือเชงเกนก็ถูกรื้อทิ้ง
ประเทศสมาชิกเชงเกน
ประเทศที่อนุญาตให้ประชาชนในกลุ่มเชงเกนสามารถเดินทางระหว่างกันโดยไม่ต้องถือหนังสือเดินทาง และประชาชนจากประเทศนอกกลุ่มเชงเกนเดินทางระหว่างประเทศเชงเกนได้โดยใช้ใบอนุญาตเพียงใบเดียว - ใบอนุญาตเชงเกน (Schengen Visa) ประเทศสมาชิกทั้งหมดหลังจากการเข้าร่วมเพิ่มในเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2551 ประกอบด้วย
อ้างอิง
- ^ "Schengen area" is the common name for states that have implemented the agreement.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น