15 พฤษภาคม, 2564

ศาลาไทย เมืองโลซาน สวิตเซอร์แลนด์

 ศาลาไทย เมืองโลซาน สวิตเซอร์แลนด์

 
 
เมื่อวันอังคารที่ ๑๗ มีนาคม ๒๐๐๙ สมเด็จพระเทพราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จทรงเป็นประธานในพิธีเปิด “ศาลาไทย” ณ เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
ศาลาไทย” แห่งนี้ ตั้งอยู่ที่สวนสาธารณะเดอน็องตู (Denantou) เขตอชชี่ (Ouchy) เมืองโลซาน สมาพันธรัฐสวิส ที่สร้างขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และเพื่อเฉลิมฉลองวาระสำคัญในปี ๒๕๔๙ สองวาระ คือ วโรกาสที่พระบาทสมสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ พรรษา และการดำเนินความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสมาพันธรัฐสวิสครบ ๗๕ ปี
 

 


 
กระทรวงการต่างประเทศและสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบิร์น ได้เลือกเมืองโลซานเป็นสถานที่ตั้งศาลาไทย เนื่องจากเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ไทย – สวิส ด้วยเป็นสถานที่ๆพระมหากษัตริย์ไทยสองพระองค์ รัชกาลที่ ๘ และรัชกาลที่ ๙ ประทับ พร้อมด้วยสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ในช่วงปี ๒๔๗๖ – ๒๔๙๔ เป็นเวลาถึง ๑๘ ปี ก่อนเสด็จนิวัตประเทศไทยเป็นการถาวร
เทศบาลเมืองโลซานได้อนุญาตให้รัฐบาลไทยก่อสร้างศาลาไทยในพื้นที่สวนสาธารณะเดอน็องตู โดยเป็นโครงการร่วมกันระหว่างรัฐบาลไทย โดยกระทรวงการต่างประเทศไทย สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบิร์น และเทศกาลเมืองโลซาน
รัฐบาลไทย โโยกระทรวงการต่างประเทศ ได้สนับสนุนงบประมาณเพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างศาลาไทยดังกล่าว โดยได้รับความอนุเคราะห์จากกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ดำเนินการด้านออกแบบและก่อสร้าง
 
โครงการก่อสร้างศาลาไทยมีดำริริเริ่มขึ้นเมื่อปี ๒๕๔๐ โดยนายดอน ปรมัตถ์วินัย อดีตเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบิร์น และมีการสานต่อโครงการฯเรื่อยมา จนสามารถดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือนกันยายน ๒๕๕๐

 

 


 


 
 
สถาปนิกผู้ออกแบบศาลาไทยหลังนี้ คือ นาวาอากาศเอกอาวุธ เงินชูกลิ่น อดีตอธิบดีกรมศิลปากรและศิลปินแห่งชาติ โดยมีนายก่อเกียรติ ทองผุด เป็นนายช่างศิลปกรรม นายเสกสรรค์ ปัญญารัมย์ เป็นนายช่างเขียนแบบ และนายสุทิน เจริญสวัสดิ์ เป็นวิศวกร
ลักษณะของศาลาไทย ณ เมืองโลซาน เป็นศาลาไม้แบบจตุรมุข มียอดมณฑป ขนาดกว้าง ๖ เมตร ยาว ๖ เมตร สูง ๑๖ เมตร น้ำหนัก (เฉพาะตัวศาลาประมาณ ๒๗,๐๐๐ กิโลกรัม ก่อสร้างด้วยไม้เนื้อแข็งและไม้สัก ตามลักษณะการก่อสร้างงานสถาปัตยกรรมไทยแบบโบราณ มีความเป็นเลิศด้านสถาปัตยกรรมและงานช่างไทย ประกอบด้วย งานเข้าไม้ งานจำหลักลาย งานปิดทองประดับกระจก งานเขียนลายรดน้ำ เป็นต้น งานก่อสร้างศาลาไทยทั้งหลังและการทำพื้นฐาน และบันไดด้วยหินแกรนิต เป็นความรับผิดชอบของผู้ดำเนินการก่อสร้างฝ่ายไทย โดยนำหินทั้งหมดมาจากประเทศไทยด้วย
 
 
 
 



 
สมาพันธรัญสวิส (เทศบาลเมืองโลซานเป็นผู้รับผิดชอบงานก่อสร้างฐานซีเมนต์ งานปรับพื้นที่และภูมิทัศน์ การติดตั้งกล้องวงจรปิดรักษาความปลอดภัย เครื่องตรวจจับควันไฟ ตลอดจนระบบแสงและไฟฟ้า และการดูแลศาลาไทยภายหลังการก่อสร้างเสร็จสิ้นแล้ว
นับตั้งแต่การก่อสร้างเสร็จสิ้น ศาลาไทยได้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมแห่งใหม่ของเมืองโลซาน นักท่องเที่ยวทั้งชาวสวิสและชาติอื่นๆ รวมทั้งชาวไทย ต่างพากันเดินทางมาชมศาลาไทยอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์




 
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การทำ SEO คืออะไร

    การทำ SEO คืออะไร การทำ SEO คืออะไร เรียนรู้เทคนิคง่ายๆ ทำด้วยตัวเอง ไม่ต้องเสียตังค์ "SEO คือ การปรับแต่งเว็บไซต์ให้ติดอันดับการค้...